ในศึกเซ็กเพ็ก ลมตะวันออกเป็นจุดเด่นจุดหนึ่งของเรื่อง ทำให้เราเห็นความสำคัญของลมว่าเกี่ยวข้องกับความสำเร็จของการจู่ โจมด้วยไฟครั้งนี้อย่างไร
ในนิยายสามก๊ก บรรยายไว้ว่า ขงเบ้งเคยพบผู้วิเศษท่านหนึ่ง ซึ่งได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาเรียกลมเรียกฝนให้แก่ขงเบ้ง ขงเบ้งจึงสั่งให้จิวยี่สร้างปะรำพิธีเรียกลมไว้บนเขา แล้วทำพิธีเรียกลมอยู่ในปะรำนั้น เรื่องนี้ฟังดูไร้สาระนัก แต่หากติดตามเหตุการณ์ต่อไป เราจะทราบว่า ที่แท้การสร้างปะรำพิธีเรียกลมบนเขานั้น เป็นเพียงกลลวงของขงเบ้งเท่านั้นเอง ขงเบ้งฉลาดพอที่จะคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่า หลังจากลมตะวันออกพัดมาตามกำหนดเวลาจริงๆ จิวยี่ต้องหาทางกำจัดตนแน่ ดังนั้น จึงนัดแนะกับจูล่งไว้ แล้วถือโอกาสที่บอกใครๆว่าขึ้นไปทำพิธีเรียกลมบนเขาหนีจากตังหงอไปอย่าง ปลอดภัย การผูกเรื่องเช่นนี้ สอดคล้องกับความเจ้าปัญญาของขงเบ้งอย่างยิ่ง ลองคิดดูว่า หากขงเบ้งไม่อ้างว่าจะขึ้นไปทำพิธีเรียกลมบนเขา แต่กลับไปเสกคาถาอยู่ริมน้ำตามลำพังคนเดียว ขงเบ้งหรือจะรอดพ้นจากกรงเล็บของจิวยี่?
เหตุที่ขงเบ้งมีความสามารถในการหยั่งรู้ดินฟ้าอากาศนั้น ก็เพราะว่า เขาใช้ชีวิตอยู่บนเขาโงลังกั๋งมานานปี เขาโงลังกั๋งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแยงซีเกียง ดังนั้น ขงเบ้งจึงเข้าใจสภาพความเปลี่ยนแปลงของกาลอากาศสองฟากฝั่งแม่น้ำเป็นอย่างดี และขงเบ้งเป็นคนที่มีอุดมการณ์ เตรียมจะทำการใหญ่อยู่แล้ว ดังนั้น ขณะที่เก็บตัวศึกษาหาความรู้อยู่บนเขา เขาจะต้องสนใจสภาพดินฟ้าอากาศในแถบนั้นอย่างยิ่งตามประสานักการทหารผู้มีสาย ตายาวไกล
หลักการในการพยากรณ์อากาศมีอยู่ว่าเมื่อคำนวณจากอัตราเฉลี่ยของความเปลี่ยน แปลงทางปรากฏการณ์ธรรมชาติ เราจะรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของอากาศในแต่ละช่วง อย่างเช่นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เมฆบดบังดวงจันทร์ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย หิมะก็จะตกหนัก ชาวบ้านอาศัยความสังเกตจากชีวิตประจำวัน นำมาสรุปเป็นสูตรในการพยากรณ์อากาศอย่างง่ายๆ
พยากรณ์ศาสตร์เห็นว่า กฎแห่งความเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ธรรมชาตินั้น เกิดขึ้นเนื่องจากโลกหมุนจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกเป็นประจำ ดังนั้น จึงเกิดคลื่นอากาศที่คล้ายคลื่นในทะเลขึ้น ลูกคลื่นเหล่านี้มีส่วนบุ๋มส่วนนูน ส่วนที่บุ๋มลึกลงไปเป็นทางก็จะกลายเป็นร่องความกดอากาศ ส่วนที่อยู่ด้านนูนก็จะเป็นหลังคาแรงกดอากาศ การเคลื่อนตัวขึ้นๆลงๆของแรงกดอากาศนี้จะก่ออิทธิพลที่แน่นอนต่อพื้นผิวโลก ตลอดจนแม่น้ำลำห้วยต่างๆและกลายเป็นความเปลี่ยนแปลงที่มีลักษณะเป็นวัฏจักร และถ้าเราใช้วิชาสถิติคำนวณออกมา เราก็จะกุมความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ ดังนั้น ในแต่ละท้องที่ จะเกิดลมอะไรในฤดูไหน ฝนฟ้า อุณหภูมิ ทิศทางลมในแต่ละฤดูเป็นอย่างไร โดยทั่วไปแล้วมีกฎเกณฑ์
จึงไม่แปลกเลยที่คนเจ้าปัญญาอย่างขงเบ้งจะคำนวณความเปลี่ยนแปลงของ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติได้ วันที่ขงเบ้งเรียกลมนั้นเป็นวันต้นฤดูหนาว ในตำราพยากรณ์อากาศยุคโบราณกล่าวไว้ว่า "ในต้นฤดูหนาว อากาศเย็นจะเริ่มปกคลุม ส่วนอากาศร้อนก็จะลอยตัวสูงขึ้น "หมายความว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว อากาศเย็นกับอากาศร้อนจะปะทะกัน ซึ่งก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านทิศทางลมเหนือแม่น้ำ เพราะฉะนั้น อภินิหารของขงเบ้งในนิยายสามก๊กนั้น จึงเป็นอภินิหารที่เป็นวิทยาศาสตร์
เรื่องขงเบ้งเรียกลมนี้ ให้อุทาหรณ์แก่เราว่า ในยามปกติ เราควรเป็นคนช่างสังเกตการณ์เรียนรู้เรื่องอุตุนิยมวิทยามีส่วนช่วยให้เรา ประสบความสำเร็จในด้านการงานได้เช่นกัน เราสามารถอาศัยหลักเกณฑ์แห่งความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ มารับใช้งานของเราให้บรรลุผลสำเร็จอย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น แม้ว่าปัจจุบันนี้ เราจะมีเครื่องไม้เครื่องมือในการทำนายอากาศ หรือกระทั่งทำฝนเทียม เมฆหมอกเทียมได้แล้วก็ตาม แต่อากาศในแต่ละท้องที่ก็ยังมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป เป็นเรื่องที่เราไม่ควรละเลย
ความคิดเห็น